คิดเร็ว ทำเร็ว เข้าถึงใจลูกค้า ด้วยหลักการ Design Thinking

Design Thinking เป็นกระบวนการคิดเชิงออกแบบ เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าและบริการใหม่ๆที่ตรงความต้องการของลูกค้า เพราะที่ผ่านมาไอเดีย มักเกิดจากเจ้าของธุรกิจเพียงอย่างเดียว แต่เมื่อเวลาผ่านไปพบว่า สินค้านั้นไม่ได้ตรงกับความต้องการลูกค้าเลย จึงใช้ Design Thinking ช่วยหาไอเดียและทดลองลงมือทำ เพื่อผลิตออกขายออกสู่ตลาดต่อไป จะช่วยจัดระบบความคิดให้เป็นระบบมากขึ้น Design Thinking นั้นเป็นศาสตร์ที่มีมานานแล้ว แต่เพิ่งได้รับความเมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา เริ่มมีการปรับใช้ในทางธุรกิจมากขึ้น และ หลายองค์กรเริ่มมีการนำกระบวนการแนวคิดนี้มาใช้มากขึ้น นิยาามมันก็คีอ กระบวนการที่ช่วยยคิดอะไรใหม่ๆ คิดสินค้าใหม่ๆ คิดถึงรูปแบบการบริการใหม่ๆ สบการณ์จากสินค้าใหม่ๆ ที่เริ่มต้นจากการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย การทำความเข้าใจในความต้องการลูกค้า ว่าลูกค้าต้องการอะไรจากสินค้าเราบ้าง ความรู้สึกของลูกค้า และลงมือ ว่าออกมาตรงจุดหรือไม่ หรือจะเรียกง่ายๆว่า กระบวนการคิดสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ เหมาะกับองค์กรที่มีเป้าหมายที่จะพาองค์กรไปสู่จุดใหม่ ที่ออกจากกรอบเดิมๆ เราไม่ใช่ผู้ให้คำตอบ ลูกค้าคือที่คนที่ให้คำตอบ และกระบวนการคิดยี้ยังช่วยเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้เราคิดนวัตกรรมได้ คือ Design Thinking ได้อีกด้วย

แนวคิดหลักของDesign Thinking

 

1. เข้าใจปัญหาให้ถูกต้องซะก่อน  (Empathize)

ปกติเวลาเราคิดผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆขึ้นมาเพื่อลูกค้า เรามากจะคิดจากตัวเองก่อนว่าเรามีของดี เรามีส่วนดีและต่างจากคู่แข่งประมาณนี้ เรานำไปขายและนำเสนอลูกค้ากันเถอะ !  แต่ที่จริงแล้วในมุมของการทำความเข้าใจลูกค้าที่ถูกต้อง เราต้องลืมข้อดีต่างในผลิตภัณฑ์เราทั้งหมด และเข้าไปหาลูกค้าแบบแก้วที่ว่างเปล่า เพื่อเข้าไปเก็บข้อมูลให้มากที่สุดว่าลูกค้าต้องการอะไรบ้าง เจอปัญหาอะไร ลูกค้ามีความคิดเห็นอย่างไร และเราจะช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้อย่างไรบ้าง นั่นคือหลักการเข้าใจปัญหาได้อย่างถูกต้อง จุดเริ่มต้นคือ ..มองจากจุดลูกค้า เลิกการมองจากจุดเดิมๆ

2. กำหนดปัญหาและตีโจทย์ให้แตก (Define)

แน่ใจซะก่อยว่าปัญหานั้นเป็นปัญหาที่แท้จริงของลูกค้า โดยศึกษาข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งหากถ้าเรากำหนดปัญหาได้อย่างชัดเจน ว่าปัญหาที่แท้จริงคืออะไร จะทำให้เราทำงานในขั้นตอนต่อไปได้ง่ายขึ้น

3.ระดมสมอง แบบโลกที่ไร้กรอบ  (Ideate)

เมื่อเริ่มทำความเข้าใจจากปัญหาของลูกค้าแล้ว ก็เข้าสู่การระดมความคิด ตั้งคำถามไว้ให้เยอะๆ ก่อน โฟกัสที่ปริมาณก่อนค่อยมองถึงคุณภาพ การระดมสมองหลายๆข้อที่คิดขึ้นมา นำมารวบรวมทั้งหมด อย่าเพิ่งตัดออก ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องเกิดจากความคิดเดียว หรือเลือกความคิดเดียว แต่เป็นการผสมผสานหลากหลายความคิดให้ออกมาเป็นแนว มองหาความแหวกแนว เพื่อหาความคิดนอกกรอบ เพื่อทำให้เรามีทางเลือกในการแก้ปัญหามากกว่าเดิม

4. เริ่มต้นสร้างแบบ  (Prototype)

เปลี่ยนจากสิ่งที่คิดเป็นข้อให้เป็นขั้นตอนการลงทำที่จับต้องได้ กระบวนการนี้เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยให้ทดสอบแต่ละวิธีแก้ปัญหา เป็นกระบวนการคิดที่อาจมีการทำซ้ำได้ เพื่อเป็นการเริ่มสร้างโซลูชันหรือทางออกของปัญหา

5. เรียนรู้ผ่านการทดลอง ลงมือทำจริง (Test)

หลังจากมีไอเดียที่คิดไว้แล้ว ให้ลงมือทำจริง และพร้อมที่จะทดลองไปเรื่อย ๆ คิดใหญ่ได้ แต่เริ่มทดลองเป็นก้าวเล็กๆเพื่อที่จะได้เรียนรู้

Design Thinking  ไม่ใช่เรื่องที่ซับซ้อนอย่างที่คิด โดยสามารถนำไปใช้ได้อย่างหลากหลาย และใช้ได้จริงในการทำงาน และ  Design Thinking สามมารถปฏิบัติด้วยความยืดหยุ่นและกระบวนการที่ไม่เป็นเส้นตรง ทีมอาจดำเนินการหลายขั้นตอนพร้อมกันก็ได้ ไม่จำเป็นต้องไล่เรียงจากขั้นตอน ทุกวันนี้มีการปรับใช้ได้อีกมากมาย เป็นการเข้าใจกลุ่มเป้าหมายที่เราจะเข้าไปหา เช่นเราทำงานกับกลุ่มลูกค้าธนาคาร ที่ต้องการแอปพลิเคชันสำหรับคนสูงวัย แต่ปัญหาคือผู้สูงอายุไม่ค่อยเข้าใจเรื่องเทคโนโลยี และอาจจะไม่ถนัดในการเรียนรู้และใช้งาน เราก็ต้องเข้าใจถึงข้อจำกัดก่อน อาจจะด้วยทีผู้สูงอายุไม่กล้าใช้งาน มองว่าใช้งานยาก ไม่เปิดใจลองใช้ ปัญหาสายตาที่มองข้อความในมือถือเครื่องเล็กๆไม่ค่อยชัดเจน ข้อมูลพวกนี้ทำให้เรานำมาปรับใช้ เพื่อมาออกแบบแอปพลิเคชันให้เหมาะกับการใช้งานในกลุ่มผู้สูงอายุ การแก้ปัญหาดั่งกล่าวนั้น ก็จะเข้าถุงตรงจุดของปัญหาลูกค้าได้ เป็นการคิดเชิงออกแบบ เรียนรู้ด้วยการลงมือทำจริง

 

ข้อดี กระบวนการคิดแบบ Design Thinking

  • พัฒนาแนวทางและเครื่องมือสร้างนวัตกรรมที่เหมาะสมสำหรับองค์กร
  • ช่วยกระตุ้นการออกความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนความคิดไอเดียดีๆในทีม
  • สร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรมในองค์กร
  • จัดระเบียบการทำงานและการเรียบรู้ ขั้นตอนการทำงานได้อย่างรวดเร็วและตรงตามจุด
  • ช่วยจัดระบบการเรียนรู้และสิ่งที่เรียนรู้ในโครงการอย่างรวดเร็ว

ต้องการเว็บไซต์ที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ ปรึกษาเรา

หากคุณกำลังมองหา ซอฟต์แวร์ เฮ้าส์ (Software House) ที่มีความรู้ความสามารถและมีความเหมาะสมกับรูปแบบการดำเนินธุรกิจไทย ที่จะเข้าไปช่วยสร้างสรรให้ไอเดียหรือนวัตกรรมของคุณเป็นจริง สวิฟต์เลทคือ ซอฟต์แวร์ เฮ้าส์ ที่คุณกำลังตามหาอยู่! สามารถติดต่อฝ่ายขายของเราผ่านช่องทางด้านล่างนี้เพื่อรับคำปรึกษา หรือสามารถดูหน้าโปรเจกต์และผลงานที่ผ่านมาของเรา