โควิด-19 กับยุคดิจิทัล ทำให้เราเรียนรู้อะไรบ้าง ?

     ถ้าพูดถึงในช่วงวิกฤติโควิด-19 ก็คงการเปลี่ยนแปลงของผู้คนจำนวนมาก หรือทั่วโลกเลยก็ว่าได้ เพราะได้ส่งผลกระทบกับภาคธุรกิจทั้งขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ ภาคเกษตร อุตสาหกรรม การส่งออก คมนาคมต่างๆ  ทุกสิ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก ผู้คนต้องเปลี่ยนการใช้ชีวิต หลีกเลี่ยงการออกจากบ้าน หลายธุรกิจต้องปิดตัวลงเนื่องจากไม่สามารถแบกรับกับวิกฤตินี้ได้ .. แต่ใช่ว่าจะแย่เสมอไป ยังมีอีกรูปแบบธุรกิจที่สร้างรายได้ และตัวเลขนั้นเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วจนหยุดไม่อยู่ และมีแนวโน้มจะโตแบบก้าวกระโดดอีกเรื่อยๆ  ในขณะที่การออกจากบ้านลดลงเกินครึ่ง บนถนนในกรุงเทพไม่มีรถติด ซึ่งเป็นภาพที่หาดูได้ยาก แต่ยอดการใช้อินเตอร์เน็ตกลับพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว วันนี้แอดมินมีสถิติที่น่าสนใจ อ้างอิงมาจาก e-Conomy SEA 2020 – Google แบบเข้าใจง่าย ให้เพื่อนๆได้อ่านกันค่ะ

     การใช้อินเทอร์เน็ตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปีนี้มีผู้ใช้รายใหม่ถึง 40 ล้านราย (จํานวนผู้ใช้ ทั้งหมด 400 ล้านราย ณ ข้อมูลล่าสุด เทียบกับ 360 ล้านรายในปี 2019) สําหรับในประเทศไทย เนื่องจากการล็อกดาวน์มีหลาย ระยะ คนไทยจึงหันมาใช้อินเทอร์เน็ตเป็นทางออกเพื่อรับมือกับความท้าทายครั้งนี้ ผู้ใช้จํานวนมากเริ่มลองใช้บริการดิจิทัลใหม่ๆ โดย 30% ของผู้ใช้บริการดิจิทัลทั้งหมดคือผู้ใช้รายใหม่ และ 95% ของพวกเขาเหล่านี้ตั้งใจที่จะใช้ต่อไปหลัง อีคอมเมิร์ซได้ขับเคลื่อนการเติบโตในประเทศไทยอย่างมากถึง 81% การก้าวกระโดดอย่างรวดเร็วนี้ช่วยชดเชยการชะลอตัวของ การท่องเที่ยวและการขนส่งออนไลน์เป็นอย่างมาก โดยรวมแล้วคาดว่ามูลค่าสินค้ารวม (Gross Merchandise Value: GMV) ในปี 2020 จะมีมูลค่ารวม 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเติบโตขึ้น 7% เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ในปี 2025 เศรษฐกิจ ดิจิทัลมีแนวโน้มสูงถึง 5.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 25% ต่อปี

การเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคและระบบนิเวศขนานใหญ่ในปีนี้ทําให้ธุรกิจอินเทอร์เน็ตก้าวหน้าอย่างไม่น่าเชื่อ และเติบโตมาสู่จุดที่ แข็งแรงอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ในรายงานปี 2019 เราได้ระบุข้อจํากัดสําคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล 6 ประการ ได้แก่ การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต การจัดหาเงินทุน ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค การชําระเงิน ระบบโลจิสติกส์ และบุคลากรที่มีความสามารถ ซึ่งในปีนี้เราได้เห็นความก้าวหน้าในด้านต่างๆ เหล่านี้เป็นส่วนใหญ่ (โดยเฉพาะด้านการชําระเงินและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค) อย่างไรก็ตาม ข้อจํากัดด้านบุคลากรที่มีความสามารถยังคงเป็นข้อจํากัดหลักที่ทุกภาคส่วนจําเป็นต้องพยายามกันต่อไป เพื่อรักษาแรงขับเคลื่อนของปีนี้เอาไว้

    ในส่วนของประเทศไทย มีการเติบโตแบบการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของผู้บริโภคบนแพลตฟอร์มดิจิทัล (ซึ่งยังคงจะใช้ต่อไป) โดยผู้ใช้รายใหม่ของบริการที่เข้ามาสู่เศรษฐกิจดิจิทัลเพิ่ม 30 % และผู้ใช้รายใหม่ที่จะใช้บริการ ดิจิทัลต่อไปอย่างน้อย 1 บริการ หลังการระบาดของโควิด-19มากถึง 95 %และจํานวนชั่วโมงที่ใช้อินเทอร์เน็ต เฉลี่ยต่อวันในรูปแบบใช้งานส่วนตัวในช่วง โควิด-19 ก็มีตัวเลขเพิ่มถึง 4.6 %

Education Technology และ ตลาดที่น่าจับตามอง !

วิกฤติโควิด-19 ทำให้นักเรียนต้องเรียนออนไลน์ที่บ้าน ทำรายงานที่บ้าน และตอนนี้ยังมีการสอบเก็บคะแนนทางออนไลน์อีกด้วย ทำให้เข้าสู่การพัฒนาไปถึงแอปพลิเคชันที่เข้ามารองรับการเรียน ทำให้ธุรกิจนี้เติบโตได้อย่างรวดเร็ว และจากผลการสำรวจยังพบว่า 70 % นักเรียนมีความพอใจที่จะเรียนผ่านแพลตฟอร์มต่างๆมากกว่าการนั่งเรียนในห้องเรียนอีกด้วย

จากรายงานนี้ทำให้เห็นได้ว่าการใช้อินเทอร์เน็ตประเทศไทยเติบโตขึ้นเรื่อย ๆยิ่งในช่วงระยะเวลาล็อกดาวน์นั้น การเข้าสู่แพลตฟอร์มดิจิทัลและการใช้งานอินเทอร์เน็ต ที่เป็นรายใหม่เพิ่มขึ้นมากถึง 30%พอสถานการณ์ COVID-19 ยอดพุ่งมากขึ้นไปถึง 4.6 ชั่วโมงต่อวัน และอินเทอร์เน็ตก็กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวัน ทำให้ธุรกิจหลักนั้นเป็นสิ่งที่ช่วยยึดเหนี่ยวได้เป็นอย่างดีในสถานการณ์เช่นนี้ นอกจากนี้ E-commerce ยังเติบโตในประเทศไทยเป็นมากถึง 81% เรียกได้ว่าเติบโตอย่างก้าวประโดดเลยทีเดียว 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก 

https://economysea.withgoogle.com/

 

 

ต้องการเว็บไซต์ที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ ปรึกษาเรา

หากคุณกำลังมองหา ซอฟต์แวร์ เฮ้าส์ (Software House) ที่มีความรู้ความสามารถและมีความเหมาะสมกับรูปแบบการดำเนินธุรกิจไทย ที่จะเข้าไปช่วยสร้างสรรให้ไอเดียหรือนวัตกรรมของคุณเป็นจริง สวิฟต์เลทคือ ซอฟต์แวร์ เฮ้าส์ ที่คุณกำลังตามหาอยู่! สามารถติดต่อฝ่ายขายของเราผ่านช่องทางด้านล่างนี้เพื่อรับคำปรึกษา หรือสามารถดูหน้าโปรเจกต์และผลงานที่ผ่านมาของเรา